คู่มือประชาชน - อบต.หนองโบสถ์

การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต

ผลประโยชน์ทับซ้อน

สถิติ

วันนี้ 14

เมื่อวานนี้ 22

สัปดาห์นี้ 85

เดือนนี้ 804

ทั้งหมด 151732

Currently are 6 guests and no members online

Kubik-Rubik Joomla! Extensions

สมาชิก

iit     eet

คู่มือประชาชน

คู่มือประชาชน

การรับชำระภาษีป้าย

การขอหมายเลขประจำบ้าน 

ต้องนำเอกสารมาดังต่อไปนี้     
๑. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
๒. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอ (เจ้าบ้าน)
๓. ใบอนุญาติให้ปลูกสร้างอาคาร (สำนักการช่างออกให้) 
๔. หนังสือรับรองอาคาร (สำนักการช่างออกให้)
๕. ใบยื่นคำร้อง (ทร. ๙) (ขอรับที่งานทะเบียนราษฎร)     
กรณี เจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองได้ ให้มีหนังสือมอบอำนาจ ของเจ้าบ้าน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบ และผู้รับ
การขอหมายเลขประจำบ้าน ระยะเวลาตั้งแต่ยื่นขอ และอนุมัติให้ ภายใน ๑๕ วัน     
    
การแก้ไขรายการ
ในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ทุกรายการ     
เจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าตัว บิดา - มารดา สามี - ภรรยา เป็นผู้ขอแก้ไขรายการ กรณีเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา ดำเนินการแก้ไขรายการได้ พร้อมนำเอกสารมา ดังนี้  
๑. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
๒. สูติบัตร (ใบเกิด) หรือ
๓. หลักฐานทางการศึกษา (ใบสุทธิ) หรือสำเนาทะเบียนนักเรียน หรือ
๔. หลักฐานทางการทหาร (ส.ด. ๘ หรือ ส.ด. ๙) หรือ
๕. ใบสำคัญทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญหย่า หรือ
๖. ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล  
 

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

การก่อสร้าง การดัดแปลง การรื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคารภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคาร

การขออนุญาตก่อสร้างอาคารดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคารในเขตเทศบาล มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติดังต่อไปนี้


๑. ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต (ข.๑) ที่งานสถาปัตยกรรม ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้างสำนักการช่าง
๒. หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องมายื่นประกอบแบบแปลนมีดังนี้
- แบบแปลนก่อสร้าง ๕ ชุด
- ภาพถ่ายเอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขออนุญาต ๑ ชุด
- ภาพถ่ายเอกสารโฉนดที่ดิน , นส.๓ ถ่ายต้นฉบับจริงทุกหน้า ๑ ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ

กรณีสร้างในที่ของบุคคลอื่น มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- หนังสือยินยอมเจ้าของที่ดิน
- ภาพถ่ายเอกสาร สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ๑ ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ

กรณีตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกันกับบุคคลอื่นมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- หนังสือตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกัน ๑ ชุด
- ภาพถ่ายเอกสาร สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินผู้ขอทำความตกลง ๑ ชุด
- ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ๑ ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ


 ภาษีป้าย

ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บป้าย อันหมายถึงแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือ โฆษณาการค้า หรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพ หรื่อเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ

ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป. ๑ ภายในวันที่ ๓๑ มีนาคมของทุกปี
กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่น ภ.ป. ๑ ภายใน ๑๕ วันนับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่
การชำระเงินค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องชำระค่าภาษีภายใน ๑๕ วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หรือจะชะระภาษีในวันที่ยื่นแบบเลยก็ได้
อัตราค่าภาษีป้าย
ป้ายประเภทที่ ๑ หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา ๓ บาท ต่อ ๕๐๐ ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ ๒ หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพหรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา ๒๐ บาท ต่อ ๕๐๐ ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ ๓ หมายถึง ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ หรือป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา ๔๐ บาท ต่อ ตารางเซนติเมตร
เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่าป้ายละ ๒๐๐ บาท ให้เสียภาษีป้ายละ ๒๐๐ บาท
การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ ๑๐ ของค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ ๒ ของค่าภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ
ค่าธรรมเนียมขยะมูลฝอย
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอาคารสถานที่ และประโยชน์ในการรักษาความสะอาดในเขตเทศบาล โปรดให้ความร่วมมือชำระค่าธรรมเนียมเก็บและขนมูลฝอยเป็นประจำทุกเดือนและรับใบเสร็จรับเงินทุกครั้งจากเจ้าหน้าที่ 


ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร?
พระราชบัญญัติ ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.๒๕๐๘
ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วย
เจ้าของที่ดิน หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน

เจ้าของที่ดินใดบ้างที่ไม่เสียภาษี
๑. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๒.ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะโดยมิได้มาซึ่งผลประโยชน์
๓. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสาธารณะ โดยมิได้หาผลประโยชน์
๔. ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
๕. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
๖. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสาน หรือ ฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
๗. ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือใช้เป็นสนามบินของรัฐ
๘. ที่ดินที่ใช่ต่อเนื่องกับโรงเรือน ที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว
๙. ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้ หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
๑๐. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง

ภาษีบำรุงท้องที่ลดหย่อนภาษีได้
ที่ดินนอกเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาลให้ลดหย่อนได้ไม่เกิน ๕ ไร่ แต่จะน้อยกว่า ๓ ไร่ ไม่ได้
ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างและสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่า ไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดิน ที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น

ขั้นตอนการชำระภาษีทำอย่างไร?
๑. ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.๕) ภายในเดือนมกราคม ทุกๆ ๔ ปี
๒. หากไม่ยื่นภายในกำหนด เสียเงินเพิ่มร้อยละ ๑๐ ของภาษีที่ต้องชำระ
๓. ยื่นชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี หากไม่ยื่นชำระภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ ๒ ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ


ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

โรงเรือนและที่ดิน หมายถึงอะไร?
พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรียนและที่ดิน พ.ศ.๒๔๗๕
โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรือน แฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สิ่งปลูกสร้าง เช่นท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน คานเรือ

เจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่อะไรบ้าง?
เจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยเสียเป็นรายปี

ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไร?
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ

ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น
๑. พระราชังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
๒. ทรัพย์สินของรัฐบาล ซึ่งใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง
๓. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช้เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้ในการักษาพยาบาล และในการศึกษา
๔. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียง หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
๕. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี
๖. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิให้เช้าเป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอันเพื่อหารายได้
๗. โรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม

ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อไหร่?
กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ว่าให้ยื่นแบบภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

ข้อควรรู้
๑. หากเจ้าของทรัพย์สิน อันได้แก่โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และที่ดิน เป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้น ก็เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
๒. แต่ถ้าที่ดิน และโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ เป็นคนละเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี

ขั้นตอนการชำระภาษี
๑. ยื่นแบบ (ภ.ร.ด.๒) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
๒. ต้องชำระภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าหากชำระเกินกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ ๒.๕ ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ สูงสุดร้อยละ ๑๐


การขออนุญาตประกอบการ

การขออนุญาตประกอบการ

- ผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
* รายเก่า : ก่อนใบอนุญาตหมดอายุ
* รายใหม่ : ก่อนเปิดดำเนินการ
- ตรวจสอบแล้วถูกต้องตามเกณฑ์ พิจารณาออกใบอนุญาตภายใน ๓๐ วัน
- ใบอนุญาตมีกำหนดอายุ ๑ ปี
- อัตราค่าใบอนุญาติ และค่าธรรมเนียมเป็นไปตามเทศบัญญัติ

กิจการที่ต้องขออนุญาต
- กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
- การจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ

 


คำแนะนำในการติดต่อสถานีตำรวจ

.........click here

 

 

 

 

 

 

footer nb

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโบสถ์ 

217 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองโบสถ์  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์

โทร / แฟกส์ :  044-634577และ 044-634576(กองคลัง)

Email : saraban@nongboat.go.th

www.nongboat.go.th